วงเงินให้ยืมนาโน วงเงินเท่าไหร่ ขอเพิ่มวงเงินได้ไหม

ในกรณีที่คุณสมัครวงเงินให้ยืมนาโนผ่านแล้ว ใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง แต่รู้สึกว่าวงเงินให้ยืมนาโนที่ใช้อยู่เริ่มวงเงินไม่พอ จะสามารถขอเพิ่มวงเงินได้ไหม บทความนี้มีคำตอบที่เราได้สอบถามมาผ่าน Facebook ของทาง LINE BK

LINE BK ยังไม่เปิดให้ขอเพิ่มวงเงินให้ยืมนาโน วงเงินที่ได้จะใช้ได้แค่เท่ากับจำนวนวงเงินที่อนุมัติให้ผ่านในช่วงยื่นสมัครสินเชื่อ ไม่สามารถส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขอเพิ่มวงเงินได้ ฉะนั้นหากใครอยากได้วงเงินสูง ๆ ในตอนที่สมัครก็ยื่นเอกสารให้ครบถ้วนที่สุด มีรายได้กี่ทางก็อัพโหลดบัญชีเงินฝากย้อนหลังให้ครบทุกบัญชีที่มี

ซึ่งข้อดีที่นอกเหนือจากการจะได้วงเงินสูง ๆ ตั้งแต่สมัครวงเงินให้ยืมนาโนครั้งแรกแล้ว คุณอาจจะได้สิทธิ์สินเชื่อเป็นวงเงินให้ยืมแบบธรรมดา ที่ดีกว่าวงเงินให้ยืมนาโน เพราะอัตราดอกเบี้ยจะได้ถูกกว่าที่ไม่เกิน 25% และวงเงินสูงสุด 800,000 บาทเลยทีเดียว (นาโน ดอกเบี้ย 33% ต่อปี ไม่เกิน 50,000 บาท) อีกด้วย

มาดูประเมินวงเงินให้ยืมนาโนที่คุณจะได้ และรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมกันครับ

รายได้เท่านี้ ได้วงเงินให้ยืมนาโนเท่าไหร่

วิธีการประเมินเงินกู้ที่จะได้จากวงเงินให้ยืม LINE BK นั้นไม่ยาก ในกรณีที่คุณผ่านคุณสมบัติขั้นต่ำของเงินเดือน แต่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อเดือน วงเงินสินเชื่อที่ได้คือตั้งแต่ 40% ของรายได้ ไปจนถึง 1.5 เท่าของรายได้ต่อเดือน

แต่หากคุณมีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อเดือนแล้ว วงเงินที่ได้อาจสูงสุดถึง 5 เท่าของเงินเดือนของคุณ มาดูตัวอย่างประกอบกัน

นาย สมชาย ประกอบอาชีพ ขับรถเดลิเวรี่ส่งอาหาร มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 12,000 – 15,000 บาทต่อเดือน ทำอาชีพนี้มาแล้วกว่า 1 ปี จะได้วงเงินเท่าไหร่

จากข้อมูลที่ได้มา นายสมชายอาจได้รับวงเงินให้ยืมนาโนตั้งแต่ 4,800 – 22,500 บาท หรืออาจจะได้เป็นวงเงินให้ยืม แบบปกติเลยนะครับ ถึงอาชีพที่ทำอยู่จะเป็นอาชีพอิสระจริง แต่รายได้ขั้นต่ำต่อเดือนเมื่อดูในสเตทเมนท์บัญชีเงินฝากย้อนหลัง ก็ไม่เคยน้อยกว่า 12,000 ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำมาเยอะ และผ่านเกณฑ์ของวงเงินให้ยืมด้วย ถ้าสมชายไม่มีหนี้อื่นประกอบ วงเงินอาจได้สูงถึง 22,500 หรือ 1.5 เท่าของ 15,000 บาทเลย

นาย ธนา ประกอบอาชีพ ขายของออนไลน์ มีรายได้ต่อเดือน 25,000 – 30,000 บาท มีภาระผ่อนบ้านเดือนละ 10,000 บาท จะได้วงเงินเท่าไหร่

จากข้อมูลนี้ นายธนาอาจได้วงเงินอนุมัติตั้งแต่ 10,000 – 45,000 บาท เช่นกัน แต่โอกาสที่จะได้วงเงินสูงสุด 1.5 เท่าอาจจะน้อยหน่อย เพราะมีภาระผ่อนบ้านอยู่ประมาณ 30 – 40% ของรายได้ต่อเดือน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของการจ่ายเงินของนายธนา ว่าเป็นอย่างไร ถ้าจ่ายไหวผ่อนตรงเวลาเสมอก็อาจผ่าน แต่ในความเป็นจริงถ้าเขาจ่ายสม่ำเสมอได้ตลอด

ลองตั้งโจทย์ประมาณนี้ให้กับตัวเอง และใช้ตารางข้อมูลข้างล่างนี้ประกอบดูครับ ว่าคุณจะได้วงเงินเท่าไหร่กัน

เงินเดือนวงเงินขั้นต่ำวงเงินสูงสุด
5,0002,0007,500
6,0002,4009,000
7,0002,80010,500
8,0003,20012,000
9,0003,60013,500
10,0004,00015,000
11,0004,40016,500
12,0004,80018,000
13,0005,20019,500
14,0005,60021,000
15,0006,00022,500
16,0006,40024,000
18,0007,20027,000
20,0008,00030,000
25,00010,00037,500
30,00012,00045,000
30,00112,000150,005
35,00014,000175,000
40,00016,000200,000
50,00020,000250,000
60,00024,000300,000
70,00028,000350,000
80,00032,000400,000
90,00036,000450,000
100,00040,000500,000
150,00060,000750,000
200,00080,000800,000
ตารางประเมินวงเงินสินเชื่อจากเงินเดือน

ขอเพิ่มวงเงินไม่ได้ ทำยังไงต่อ

ขอเพิ่มวงเงินไม่ได้ แต่ภาระหนี้สินของเรา หรือความจำเป็นในการใช้เงินของเรายังไม่หมดไป ต้องการเงินก้อนที่ใหญ่กว่าที่ได้จากวงเงินให้ยืม อันนี้อาจต้องขอกู้เงินเพิ่มจากสถาบันการเงินอื่นด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องเช็คให้ดีเพราะ ในทางกฏหมายนั้น หากคุณรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท จะมีสินเชื่อติดตัวผ่อนจ่ายพร้อมกันได้ไม่เกิน 3 สินเชื่อ

ซึ่งในที่นี้รวมสินเชื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด แอปกู้เงิน สินเชื่อบ้าน สินเชื่อที่ดิน สินเชื่อส่วนบุคคล ถ้าคุณครบ 3 สินเชื่อ อันนี้ขอสินเชื่อยากครับ ต้องไปปิดที่ใดที่หนึ่งก่อน

มองหาเงินกู้ที่ดอกเบี้ยน้อยกว่าเสมอ

ถ้าหากกู้ได้และจำเป็นต้องได้วงเงินก้อนใหญ่จริง ๆ สิ่งที่จำเป็นต่อจากนี้คือ ต้องหาเงินกู้ที่ดอกเบี้ยน้อยกว่าวงเงินให้ยืมนาโนหรือเท่ากัน เพื่อไม่ให้ภาระหนี้สินสูงเกินไป ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องบอกว่ายังมีเยอะเลย เช่น

  • สินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี้ยไม่เกิน 25% ต่อปี บางเจ้ามีโปรโมชั่น KKP CASH NOW ดอกเบี้ย 9.99% ต่อปี
  • บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต สินเชื่อกลุ่มนี้ดอกเบี้ยไม่เกิน 18% ต่อปี แต่บัตรเครดิตจะสมัครได้ต้องเงินเดือน 15,000 ขึ้นไป บัตรกดเงินสด อันนี้แล้วแต่ที่ แต่ส่วนใหญ่ก็ควรเกิน 12,000 บาทต่อเดือน
  • สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์
  • สินเชื่อจากธนาคารของรัฐเช่น สินเชื่อออมสิน

เพราะถ้ากู้แล้วดอกเบี้ยเกินไปจาก 25% – 33% ลองคิดในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือหาเงินมาจ่ายไม่ทัน เราจะหาเงินมาปิดหนี้ยากขึ้นแล้วถ้ามีสินเชื่อสองที่ มีที่เดียวก็ยากแล้วครับในสภาวะเศรษฐกิจนี้

Similar Posts