ในต่างประเทศกัญชานั้นถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก ยิ่งในสหรัฐอเมริกามีการเปิดกว้างให้มีการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งการรักษาโรค การนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย บำรุงสมอง เป็นสมุนไพรชั้นดีที่คนเห็นค่าของมันทำประโยชน์จากมันได้มากมาย
ขณะที่พืชชนิดนี้เป็นที่รู้จักในประเทศไทยแต่กลับไม่ได้รับอนุญาตให้เพาะปลูกได้ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากถือว่าเป็นสารเสพติด แม้จะมีประโยชน์ในหลายๆด้านต่อร่างกายมนุษย์ แต่กัญชายังถือว่ามีอันตรายถ้ามีการบริโภคในรูปแบบต่างๆในปริมาณสูง
แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องเตรียมความพร้อมในการเพาะปลูกเอาไว้ ให้เราสามารถทำเงินจากมันได้หลังจากการที่กัญชาจะถูกกฏหมายในเร็วๆนี้
เนื้อหาในบทความนี้
ปัจจุบันกัญชายังไม่ถูกกฏหมายของประเทศไทย และยังไม่ได้รับการรับรองให้ปลูกได้โดยเสรี
ขั้นตอนในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ปลูกกัญชา
ขั้นตอนแรกในการเตรียมความพร้อมเพื่อปลูกกัญชานั้น ให้เราเตรียมเมล็ดสำหรับการเพาะปลูกเสียก่อน เราจะสามารถเพาะปลูกได้อย่างถูกกฎหมายและทำเงินจากมันได้เป็นอันดับแรก โดยเมล็ดกัญชามีจำหน่ายทั้งในประเทศไทย ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้ออนไลน์หรือไปซื้อตามร้านขายเมล็ดพันธุ์ก็ใช้ได้เช่นกัน
สำหรับคนที่อยากได้เมล็ดกัญชาคุณภาพดี มีการดัดแปลงพันธุกรรมมาให้เรียบร้อย ขอแนะนำให้สั่งจากประเทศแคนาดา แคนาดามีการจำหน่ายเมล็ดกัญชาที่ผ่านการดัดแปลงยีนหรือสายพันธุ์ทางพันธุกรรม
ทำให้ได้ต้นกัญชาคุณภาพสูง มีใบที่ใหญ่กว่าเดิม ให้ผลผลิตที่ดกมากๆ แม้ต้นจะยังเล็กอยู่ เหมาะแก่การเพาะปลูกในกระถาง แม้บ้านเรือนที่มีพื้นที่น้อยก็สามารถปลูกได้เช่นกัน
นอกจากจากกัญชายังมีชุดสำหรับพร้อมปลูกให้กับคนเวลาน้อยที่อยากมีรายได้เสริม สามารถซื้อมาปลูกและจำหน่ายได้ทันที ช่วยประหยัดเวลา และปลูกได้เลยภายในบ้าน ดังนั้นการเตรียมเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ตอนนี้ถือได้ว่าเป็นการเตรียมการตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้เราสามารถมีรายได้ก่อนใครเมื่อสามารถนำไปวางขายได้อย่างถูกกฎหมาย
สายพันธ์กัญชาที่คุณควรรู้จัก

กัญชาจะมีสามสายพันธ์หลักๆ ที่คุณควรรู้จักและเป็นพื้นฐานของความรู้เกี่ยวกับกัญชา โดยปัจจุบันมีการตัดแต่งและทำการสร้างพันธ์ธุกรรมใหม่ๆ เพื่อทำให้กัญชาสามารถใช้งานทางด้านต่างๆได้ ทั้งในเชิงสันทนาการ และการแพทย์ การตัดแต่งพันธุกรรมของกัญชาถือเป็นความท้าทายในการเพาะปลูก เนื่องจากจะทำให้เกิดสายพันธ์ใหม่ๆ และได้ผลผลิตที่แตกต่างกันออกไป
สายพันธ์ซาติว่า (Sativa)
ต้นจะมีขนาดค่อนข้างสูง อาจสูงได้มากถึง 20 ฟุต โดยซาติว่าเพียวมีต้นกำเนิดจากเขตร้อนชื้น โดยจะออกฤทธิ์ที่ทำให้หัวใจสั่นรุนแรง ไม่เหมาะกับทางการแพทย์ แต่ข้อดีคือจะสามารถช่วยเยียวยาโรคซึมเศร้า และกระตุ้นความอยากอาหารได้ดี ปัจจุบันซาติว่าแท้ๆจะค่อนข้างหายาก ที่มีในท้องตลาดจะเป็นสายพันธ์ไฮบริดมากกว่า
สายพันธ์อินดิก้า (Indica)
อินดิก้าเป็นสายพันธ์กัญชาพุ่มเตี้ย โดยมีต้นกำเนิดมาจากภูมิประเทศเขตหนาวเย็น เป็นสายพันธ์ที่เหมาะกับการปลูกในร่ม ปลูกในบ้าน เนื่องจากต้นมีขนาดเล็ก และต้องการอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด โดยฤทธิ์ของสายพันธ์อินดิก้าจะเป็นขั้วตรงข้ามของซาติว่าเลย เนื่องจากจะทำให้เกิดความง่วงซึม และมึนเมา ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ดีในทางการแพทย์
สายพันธุ์รูเดอราลิส (Ruderalis)
รูเดอราลิสเป็นต้นขนาดเล็กๆและเตี้ยมาก มีต้นกำเนิดจากเขตเมืองหนาวเย็นและมีแสงแดดตลอดเวลา อย่างประเทศรัสเซีย หากจะนำมาปลูกต้องปลูกในโรงเรือนที่คุณสามารถให้แสงสว่างกับพืชได้ตลอดเวลา โดยเป็นสายพันธ์ที่มีสาร THC น้อย แต่ CBD มาก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตเร็ว คนจึงนิยมนำมาใช้ตัดต่อพันธุกรรมร่วมกับสายพันธ์อื่นๆ เพื่อให้ผลผลิตเร็ว
สายพันธ์ไฮบริด
ไฮบริดคือการเป็นลูกผสมของสายพันธ์ต่างๆ โดยอาจจะมีพันธ์ที่มียีนส์เด่นของซาติว่า หรือยีนส์เด่นของอินดิก้า เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็จะทำให้ได้ปริมาณสารและรูปทรงของต้นที่แตกต่างออกไป
โดย 10 สายพันธ์กัญชายอดนิยมจากทั่วโลกได้แก่
- Chem Berry D
- Bruce Banner BX 2.0
- HulkBerry
- Original Glue
- Girl Scout Cookies
- Green Gelato
- Romulan Haze
- Where’s My Bike
- Island Sweet Skunk
- Gorilla Zkittlez
โดยคุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละสายพันธ์ได้ที่นี่ ซึ่งชื่อของสายพันธ์จะค่อนข้างแปลกประหลาดหน่อย บ้างก็มาจากชื่อของพันธ์พ่อ พันธ์แม่ หรือชื่อของคนที่คิดค้นขึ้นมา นับว่าเป็นวงการปลูกพืชที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้ได้เห็นตลอดเวลา
วิธีปลูกกัญชาทั้งในบ้านและนอกบ้าน
หลายคนอาจจะคิดว่าพืชชนิดนี้ปลูกยาก แต่จริงๆแล้วก็ไม่เลย เพียงแค่คุณมีความรู้พื้นฐานก็สามารถปลูกได้ แต่ว่าพืชชนิดนี้ก็จะมีข้อจำกัดและข้อควรระวังในการปลูกเช่นกัน โดยทั่วไปสิ่งที่กัญชาต้องการสำหรับการเติบโตคือ
- แสง – คุณสามารถปลูกได้ทั้งแสงจากดวงอาทิตย์ หรือไฟสำหรับเพาะปลูกในร่ม
- อากาศ – พืชต้องการพื้นที่ๆมีอากาศถ่ายเทและมีความบริสุทธิ์
- ดิน – ควรเป็นดินร่วน
- อุณหภูมิ – วิธีคิดคำนวณอุณหภูมิง่ายๆสำหรับกัญชา คือ หากอากาศทำให้คุณรู้สึกร้อนเกินไป กัญชาก็จะรู้สึกแบบนั้นเช่นเดียวกัน ควรปลูกในที่ๆให้อุณหภูมิแบบเดียวกับที่มนุษย์อยู่ได้
- สารอาหาร – คุณสามารถให้ปุ๋ยเพิ่มเติมเพื่อเป็นสารอาหารแก่พืช เพื่อให้สามารถเติบโตออกมาออกดอกออกผลอย่างสวยงามได้
- น้ำ – นี่คือแหล่งอาหารหลักของพืช กัญชาต้องได้รับการให้น้ำเพื่อให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้
หากคุณเริ่มปลูกวันนี้ เมล็ดพันธ์จะเริ่มเติบโตใน 9 สัปดาห์ และโดยทั่วไปใช้เวลา 3 – 5 เดือนถึงจะเริ่มให้ผลผลิตที่คุณต้องการได้
การเลือกพื้นที่สำหรับเพาะปลูก
หากปลูกกัญชาในบ้าน
คุณสามารถเลือกปลูกได้ในพื้นที่ต่อไปนี้
- ห้องที่เตรียมไว้
- ตู้เสื้อผ้า
- โรงรถ ห้องเก็บของ
- เต๊นท์เพาะปลูก
- พื้นที่ว่างในห้องน้ำ
- ปลูกกัญชาในกระถาง
โดยแนะนำให้เป็นพื้นที่ๆ คุณจะแน่ใจว่าสามารถควบคุมอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 20 – 30 องศาเซลเซียส เพราะเป็นอุณหภูมิที่ดีที่สุดที่จะทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงยังเด็ก และหากพืชเริ่มมีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ให้ปรับอุณหภูมิอยู่ในช่วง 15 – 25 องศาเซลเซียส
หรือการใช้เต๊นท์เพาะปลูกทำเอง
หากปลูกกัญชานอกบ้าน
นอกจากเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิแล้ว คุณต้องมั่นใจว่าจะสามารถกำจัดศัตรูพืชได้ ซึ่งนั่นหมายถึงทั้งสัตว์และคนเลยทีเดียว เป็นพืชที่มีอัตราการขโมยสูงมาก แม้แต่ในต่างประเทศเองก็ตาม และด้วยความที่ยังไม่ถูกกฏหมายในประเทศไทย หากคุณจะเสี่ยงปลูก ก็ต้องยอมรับชะตากรรมที่อาจตามมาเช่นกัน
แสงที่กัญชาต้องการ
กัญชาเป็นพืชที่ควรได้รับแสงสว่างอย่างน้อย 8 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวันแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงระยะการเจริญพันธ์ของมันด้วย
- ในบ้าน – สามารถใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนท์ขนาดเล็ก หรือ ไฟ LED สำหรับเพาะปลูกได้ หากคุณจะไปหาซื้อ ก็สามารถสอบถามกับคนขายได้ โดยบอกว่า อยากได้ไฟสำหรับปลูกพืชในบ้าน ไฟสำหรับใช้ในโรงเพาะชำ
- นอกบ้าน – แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ควรได้รับอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามอุณหภูมิควรจะไม่ร้อนเกินไป เพราะอาจจะทำให้พืชเสียหายได้
ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของต้นกัญชา จนสามารถสร้างผลผลิตได้
หลายคนอาจจะมีคำถามว่าปลูกกัญชาแล้วได้ผลิตในกี่วัน และนี่คือลำดับขั้นตอนการเจริญเติบโตของกัญชา (แต่อาจจะมีโตเร็วและช้ากว่าบ้างตามสายพันธ์ที่แตกต่างกันไป)
- ระยะหว่านเมล็ด 5 – 10 วัน – ต้องการแสงประมาณ 8 – 18 ชั่วโมงต่อวัน
- เป็นต้นกล้า 2 – 3 สัปดาห์ – ต้องการแสงประมาณ 8 – 18 ชั่วโมงต่อวัน
- เจริญเติบโตผลิใบ 3 – 16 สัปดาห์ – ต้องการแสงประมาณ 8 – 18 ชั่วโมงต่อวัน
- ออกดอกออกผล 8 – 11 สัปดาห์ – ต้องการแสงประมาณ 6 – 12 ชั่วโมงต่อวัน
รวมๆแล้วจะใช้เวลาประมาณ 3 – 5 เดือนถึงจะสามารถให้ผลผลิตกับเราได้
วิธีดูแลต้นกัญชาหลังการเพาะปลูก
การดูแลต้นกัญชาหลังเพาะปลูกนั้นมีความจำเป็น เกษตรกรต้องมีความรู้ในการดูแลรักษาต้นกัญชาเมื่อได้เพาะปลูกไปเรียบร้อยแล้ว โดยต้องมีการหมั่นพรวนดินอย่างสม่ำเสมอ เพราะการพรวนดินจะช่วยให้ต้นกัญชาสามารถดูดซึมน้ำและสารอาหารได้ดี เมื่อสารอาหารถูกดูดซึมเข้าไปอย่างพอเหมาะก็จะช่วยให้ออกผลผลิตทำให้เราสามารถนำไปจำหน่ายได้เร็วขึ้น
หลายคนที่ปลูกกัญชาใหม่ๆในต่างประเทศนั้นประสบปัญหาต้นกัญชาไม่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตช้ามาก ทำให้ขาดรายได้ ไม่สามารถเอาผลผลิตไปจำหน่ายได้ โดยไม่ทราบว่าการเพาะปลูกกัญชาที่ถูกต้องนั้น เราจะต้องมีการพรวนดินให้ดี ไม่ควรปล่อยละเลยขั้นตอนนี้ไป
สารอาหารสำหรับต้นกัญชา
ต้นกัญชาจะเน้นสารอาหารที่มาจากมูลสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากมูลสัตว์ประกอบด้วยสารอาหารประเภทโพแทสเซียม ซึ่งส่งผลให้มีการออกใบในปริมาณมาก ซึ่งมูลสัตว์นั้นอาจจะหายากถ้าเราไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในชนบทหรือไม่ได้เลี้ยงสัตว์เอาไว้ ดังนั้นเราจึงต้องไปขอซื้อมูลสัตว์จากแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตร
นอกจากนี้กัญชายังสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ด้วยการให้ปุ๋ยหมักประเภทที่ใช้เหมือนกับการปลูกผัก เนื่องจากผักต่างๆที่มีให้ปุ๋ยลงไป จะใช้สารอาหารไม่ต่างกันกับการปลูกกัญชา
ประโยชน์ของกัญชา
กัญชานั้นมีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาช่วยเหลือในระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยลดระดับคอเลสตอรอลและไขมันในเส้นเลือด การดื่มน้ำกัญชายังช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดี เนื่องจากใบกัญชาประกอบด้วยสารอาหารนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอและวิตามินบี รวมไปถึงแร่ธาตุบำรุงสุขภาพชนิดอื่นๆ การดื่มน้ำกัญชายังช่วยกระตุ้นให้สมองหลังฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน ช่วยให้ผู้ดื่มกินรู้สึกมีความสุข ได้รับความเคลิบเคลิ้ม อารมณ์ดีไปทั้งวัน
กัญชายังเป็นพืชชั้นดีที่ช่วยบำรุงสายตา ช่วยในระบบการมองเห็น ทำให้คนดื่มน้ำกัญชาไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของสายตาเหมือนคนทั่วไป ในต่างประเทศยังมีการใช้กัญชาเพื่อลดอาการทางประสาท ช่วยให้คนที่มีอาการทางจิตสงบลง เพิ่มความสุข ช่วยให้รู้สึกเคลิ้ม โดยไม่ต้องใช้ยาระงับประสาทขั้นรุนแรงอีกต่อไป นับเป็นข้อดีที่นับไม่ถ้วนของต้นกัญชา
ซึ่งเราต้องเตรียมความพร้อมในการเพาะปลูกไว้ให้ดี ต่อให้เราไม่ได้นำไปขาย เราก็สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพของตัวเราเองให้เป็นคนแข็งแรงมีสุขภาพที่ดีได้ไม่ยาก
ผลข้างเคียงของการเสพกัญชา
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการเตรียมความพร้อมให้มีการปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย แต่ผู้สนใจจะต้องจดทะเบียนกับรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะกัญชามีผลข้างเคียงเช่นกัน
หากมีการเสพกัญชาในปริมาณมาก อาจมีผลทำให้สมองเสื่อม เนื่องจากไปกระตุ้นระบบประสาทมากเกินไป กลายเป็นคนกล้ามเนื้อลีบ ไม่สนใจสภาพแวดล้อม ทั้งยังทำให้หูแว่ว เกิดอาการประสาทหลอนได้อีกด้วย ดังนั้นเราควรศึกษาวิธีบริโภคกัญชาอย่างถูกวิธีก่อนเช่นกัน
ทั้งหมดนี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่คุณควรรู้ไว้ ก่อนที่พืชเศรษฐกิจชนิดนี้จะถูกกฏหมายในประเทศไทย ที่ในปัจจุบันล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 ก็ได้รับอนุญาติให้ใช้ในทางการแพทย์แล้ว หากเมื่อกัญชาถูกกฏหมายและได้รับอนุญาตให้ปลูกในเชิงสันทนาการ เราจะกลับมาแนะนำพันธ์พืช และวิธีปลูกแบบเจาะลึกกันอีกครั้งนึง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย และคนที่สนใจพืชกัญชานี้